วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

LAN Card

LAN  Card
ความหมายของโมเด็ม (Modems)

                    โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท

หน้าที่ของโมเด็ม
โมเด็น (Modem)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็ม จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่ง และภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด, โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็นแบบ PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ สำคัญตัวหนึ่งในการทำทั้งเครื่องศูนย์บริการและเครื่องลูกข่ายสามารถสื่อสารติดต่อกันได้ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรให้สามารถใช้ร่วมกันได้และการควบคุมระบบความปลอดภัยบนเครือข่าย




ความหมายของ ISP
ISP มาจากคำว่า Internet Service Provider ความหมายว่า  ”ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต”   ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น
2. บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย
     ชื่อหน่วยงานที่ให้บริการ Isp
 ผู้ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Service Providers)
 ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารซึ่งในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละประเทศซึ่งจะต้องรับผิดชอบกันเอง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ของโลกให้ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ
Internet Service Providers (ISP)
ซึ่งได้แก่ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่ง
ต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน  สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไป
นอกประเทศได้  ผู้ให้บริการ (ISP) ในประเทศ มีหลายที่ เช่น KSC,  Loxinfo, Samart และอีกหลายๆ แห่งที่เปิดให้บริการ


ความหมายของ lan card
ระบบเครือข่ายหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า LAN ( Local Area Network ) นั้นก็คือ การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย เครื่องมาเชื่อมต่อกัน เพื่อต้องการให้ เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น สามารถที่จะส่ง หรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ แล้วทำไมเราต้องใช้ระบบเครือข่ายละ ลองนึกดูว่าแต่ก่อนเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง การทำงานต่าง ก็ยังคงอยู่ที่เครื่องเดียว แต่ในองค์กร หรือตามบ้านเองก็ตามแต่ หากมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองเพิ่มขึ้นมา ความต้องการในการ ที่จะต้องมีการนำข้อมูลจากเครื่องหนึ่ง มายังอีกเครื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้น เป็นแน่ หาเป็นแรก ที่ยังไม่มีระบบเครือข่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็คงใช้ Diskette ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่อง
     
และนั่นแหละคือความยุ่งยาก น่าเบื่อหน่าย และความไม่สะดวกต่าง ในการทำงาน ลองนึกภาพดูแล้วกันว่าหากว่าต้องการ Copy File ที่มีขนาดใหญ่กว่าความจุของแผ่น Diskette เราก็ไม่สามารถที่จะทำการ Copy ได้ และนั่นแหละ เขาก็เลยต้องหาวิธีการต่าง มาทำให้เครื่องสองเครื่องหรือมากกว่า สามารถที่จะส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โดยการนำเอาสายสัญญาณมาทำการเชื่อม ต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถที่จะส่งสัญญาณหากันได้โดยผ่านระบบสายสัญญาณต่าง ที่นำมาเชื่อมต่อ และรูปแบบในการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อนี้ก็มีหลายรูปแบบ และบางคนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับคำว่า Ethernet คืออะไร เพราะว่าเป็นคำพูดที่ได้ยินบ่อย อธิบายนิดหนึ่งแล้วกัน คำว่า Ethernet เป็นคำเรียกที่ใช้เรียกระบบเครือข่าย ที่มีการส่งข้อมูลกันที่ความเร็ว 10Mbps ถ้าเป็นคำว่า Fast Ethernet ก็จะหมายถึงเป็นการส่งข้อมูล ของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps และถ้าเป็นคำว่า Gigabit Ethernet ก็จะหมายถึงความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps ซึ่งการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายในปัจจุบันนี้ใช้ โปรโตคอลที่เรียกว่า CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection)       ปัจจุบันนี้ระบบเน็ตเวิร์ก หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์และองค์กร และสถาบันการศึกษาไปแล้ว การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ การส่ง E-mail ภายในองค์กรหรือ ระบบอินทราเน็ต การเชื่อมต่อระยะไกลด้วยระบบ Remote Access การประชุมผ่านวีดีโอ (Video Conference) สิ่งเหล่านี่ต้องใช้ระบบเน็ทเวิร์กเป็นพื้นฐานในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันทั้งสิ้น ระบบเน็ทเวิร์กจะหมายถึงการนำคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกัน เพื่อที่จะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน ระบบเน็ทเวิร์กสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ
       LAN (Local Area Network) หรือ แลน คือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ หมายถึง การต่อเชื่อมคอมพิว เตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย แต่ละเครื่องจะอยู่ในบริเวณใกล้ กัน เช่น ใน อาคารเดียวกัน คอมพิวเตอร์เหล่านี้จะทำงานร่วมกันได้ ใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมร่วมกันได้ ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ นับเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ชื่อของโปรแกรมระบบแลนที่โด่งดังก็มี Novell, Windows NT ดู WAN เปรียบเทียบ
       MAN ( Metropolitan Area Network )ระบบเครือข่ายระดับเมือง เป็นเน็ทเวิร์กที่ต้องใช้โครงข่ายของการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อสื่อสาร กันในเมืองหรือในระดับ LAN to LAN       WAN (Wide Area Network )เป็นเครือข่ายสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆ หรือเครือข่ายคนละชนิดที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่น คนละจังหวัด หรือคนละประเทศเข้าด้วยกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเครือข่ายที่เรียกว่า "อินเตอร์เน็ท" นั้นเอง จะต้องใช้มีเดีย( Media ) ในการสื่อสารขององร์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up line/ คู่สายเช่า leased line/ISDN* )
      มี 2 ระบบ คือ
1. Peer to Peer
ระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เหมาะสำหรับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 10 เครื่อง ระบบ Peer to Peer นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้ ซอรฟ์แวร์ที่ใช้คือ Windows for Workgroups, Windows 95,98,2000 การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lan Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีต่อสายแลน เข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUB

2.Client / Server
ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง







สายนำเข้าสัญญาณต่าง
-Optical Fiberเส้นใยนำแสง (Optical Fiber)          ท่อนำแสงทรงกระบอกมีลักษณะโปร่งแสง มีขนาดเล็กมีความสามารถ ในการนำสัญญาณแสงได้ดี(มีค่าการลดทอนต่ำ)ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูล
        
แสงไปได้ไกลมาก เส้นใยนำแสง ที่ใช้ในระบบสื่อสาร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๒๕ ไมโครเมตร และมักทำมาจากแก้ว และวัสดุอื่นๆ
        
เส้นใยนำแสงอาจเรียกว่า เส้นใยแก้ว หรือ เส้นใยแสง เป็นต้น
 
ตัวแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณแสง (Electrical to Optical Converter: E/O Converter)  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ เปลี่ยนสัญญาณข้อมูล ที่อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้า เช่น สัญญาณเสียง หรือสัญญาณภาพ ให้เป็นสัญญาณแสง เพื่อส่งผ่าน
        
เข้าไปในเส้นใยนำแสง ตัวแปลงสัญญาณไฟฟ้า เป็นสัญญาณแสง ได้แก่ แหล่งกำเนิดแสงแบบแอลอีดี(LED) หรือแหล่งกำเนิดแสงแบบเลเซอร์
         (Laser)
เป็นต้น
 
ตัวแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า (Optical to Electrical Converter: O/E Converter)
         
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแสง ที่ออกมาจากเส้นใยนำแสง ให้เป็นสัญญาณข้อมูลทางไฟฟ้า เพื่อนำสัญญาณข้อมูลนั้นไปใช้งาน ตัวแปลง
        
สัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ได้แก่ ตัวตรวจจับแสงแบบโฟโตไดโอด (photodiode) หรือแบบโฟโตทรานซิเตอร์(phototransistor)
  เส้นใยนำแสงชนิดเสต็ปอินเด็กซ์ (Step Index)
           
ประเภทของเส้นใยนำแสงประเภทหนึ่ง ที่แยกตามโครงสร้างของดรรชนีหักเห โดยดรรชนีหักเหของคอร์และแคลดดิ้งของเส้นใยนำแสงชนิดนี้จะมีค่าคงที่
  เส้นใยนำแสงชนิดเกรดเด้ดอินเด็กซ์ (graded-index fiber)ประเภทของเส้นใยนำแสงประเภทหนึ่ง ที่แยกตามโครงสร้างของดรรชนีหักเห โดยจะมีค่าดรรชนีหักเหของคอร์ไม่คงที่แต่ดรรชนีหักเหของแคลดดิ้ง
        
จะมีค่าคงที่ ซึ่งเส้นใยนำแสงชนิดนี้ สามารถใช้ส่งสัญญาณ ที่มีอัตราการส่งข้อมูล (Bit Rate) มากกว่าเส้นใยนำแสงชนิดเสต็ปอินเด็กซ์ เนื่องจาก  สามารถลดผลกระทบเกี่ยวกับการแพร่กระจาย 
UTP (Unshielded Twisted-Pair)
สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือสาย CAT (Category) เป็นสายที่ใช้เชื่อมโยง
คอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐาน EIA/TIA เป็นสายสัญญาณที่มีพื้นที่หน้าตัดกลม
ภายในมีสายนำสัญญาณที่มีฉนวนหุ้มอยู่ 4 คู่ แต่ละคู่จะประกอบไปด้วยสายทองแดง 2 เส้น บิด
กันเป็นเกลียวเป็นคู่ๆไป เพราะการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนอยู่แล้ว สายชนิดนี้จะใช้
กับระบบเครือข่ายแบบ 10BASE-T และ 100BASE-TX การใช้งานจะต้องมีการแค๊มหัว RJ-45
เข้ากับสาย UTP แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps ปัจจุบัน
นิยมใช้สาย CAT 5 กันมาก เพราะสนับสนุนการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 10-100 Mbps แต่
กำหนดความยาวได้ไม่เกิน 100 เมตร
สาย UTP ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันจะเป็น 100 ohm ซึ่งแต่เดิมระบบ Ethernet เน็ตเวอร์คจะ
ทำงานที่ความเร็ว 10 Mbps ทำให้การใช้งานสาย UTP ไม่มีปัญหา แต่เมื่อระบบเน็ตเวอร์คพัฒนา
จากระบบ Ethernet เป็น Fast Ethernet ทำงานที่ 100Mbps เมื่อความเร็วในการใช้งานสูงขึ้น ความถี่
ที่ใช้งานภายในสายก็จะสูงขึ้นด้วย ทำให้อัตราการลดทอนสัญญาณภายในสายมีมากขึ้นด้วย ด้วย
เหตุนี้การใช้งานสาย UTP และการเข้าหัว UTP จึงมีบทบาทมากขึ้น สาย UTP แบ่งตามลักษณะการ
นำสัญญาณความถี่ได้ดังนี้
Category 3
การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ด้วยค่าความถี่สูงสุดที่ 16 MHz
Category 4
การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ด้วยค่าความถี่สูงสุดที่ 20 MHz
Category 5
การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ด้วยค่าความถี่สูงสุดที่ 100 MHz
Category 5e
เช่นเดียวกับ Cat 5 แต่มีคุณภาพของสายที่ดีกว่า เพื่อรองรับการส่งข้อมูลแบบฟูลดูเฟล็กช์ที่
1000 Mbps ซึ่งใช้ 4 คู่สาย





สายโคแอ็กเชียล(Coaxial cable)
สายนำสัญษณ์ที่ใช้กับนักวิทยุสมัครเป็นสายนำสัญญาณชนิด โคแอ็กเชียล คือ สายนำสัญญาณ ที่เป็นตัวนำอยู่ตรงกลาง และมีส่วนของชีลด์เป็นตัวนำห่อหุ้มอยู่ในลักษณะทรงกระบอก โดยมีฉนวนหรือไดอิเล็กทริก ระหว่างกลางตัวนำทั้งสอง คุณสมบัติของสายนำสัญญาณประเภทนี้ คือ ในส่วนของ ชีลด์สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนที่จะเข้ารบกวนในส่วนสัญญาณได้ และสามารถป้องกันการแพร่กระจายคลื่นที่เล็ดลอดออกมาจากสายนำสัญญาณได้
ใช้ในการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงแบบดิจิตอลและ อะนาล็อก ในระยะไกล รูปที่ 3 แสดงภาพของสายโคแอกเชียล สายโคแอกเชียลที่มีฉนวนโลหะ ซึ่งชั้นแรกจะเป็นปลอกหุ้มด้วย PVC หรือเทฟลอนป้องกันสาย ชั้นที่ 2 เป็นตาข่ายหรือปลอกโลหะใช้ป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ชั้นที่ 3 เป็นฉนวนที่เป็นพลาสติก และชั้นสุดท้ายเป็นลวดตัวนำ สายโคแอกเชียลเป็นสายส่งที่มีแบนด์วิดธ์กว้างถึง 500 เมกะเฮิรตซ์ จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง เปรียบได้กับท่อน้ำขนาดกว้างที่สามารถส่งน้ำผ่านท่อได้จำนวนมาก สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายขึ้นอยู่กับความยาวของสาย ซึงสายยาว 1 กิโลเมตร อาจจะส่งข้อมูลได้ถึง 1 Gbps และสามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่านี้ด้วยอัตราส่งข้อมูลที่ต่ำลง นอกจากนั้นในระบบโทรศัพท์สามารถใช้สายโคแอกเชียลส่งข้อมูลเสียงได้ถึง 10,800 ช่องสัญญาณในช่วงระหว่างชุมสายโทรศัพท์ แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นสายเคเบิลของเส้นใยนำแสง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ดีกว่า ปัจจุบันสายโคแอกเชียลยังถูกใช้เป็นสายเคเบิลทีวี และสายเชื่อมโยงของระบบแลนบางชนิด ตารางที่  2 แสดงชนิดของสายโคแอกเชียลชนิดต่าง ๆ จัดประเภทโดย Radio Government (RG) RG ได้กำหนดลักษณะเฉพาะสำหรับสายจากเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดตัวนำ, ความหนา และชนิดของฉนวน

ข้อดีและข้อเสียของสายนำเข้าสัญญาณต่าง ๆ

    1.สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 mile
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
    2.สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile
ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง
ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
 3.สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด

เทคโนโลยีที่ให้ความเร็วดีกว่าและเสียค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก เช่น
1. ความหมายของ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)
คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บนข่ายสายทองแดง หรือคู่สายโทรศัพท์ ADSL เป็นเทคโนโลยีในตระกูล xDSL โดยมีลักษณะสำคัญคืออัตราการเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และอัตราการเร็วในการส่งข้อมูล(Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps. และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1Mbps โดยระดับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระยะทาง และคุณภาพของคู่สายนั้นๆ
เทคโนโลยี ADSL มีเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ ซึ่งจะแบ่งย่านความที่บนคู่สายทองแดง ออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงความถี่โทรศัพท์ (POTS) ช่วงความถี่ของการส่งข้อมูล (Upstream) ช่วงความถี่ในการรับข้อมูล(Downstream) จึงทำให้สามารถส่งข้อมูล และใช้โทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน
2. ความหมายของ SDSL( Symmetric Digital Subscriber Line )         เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงเหมือนกับ ADSL แต่ต่างกันที่ความเร็วในการรับ-ส่งเท่ากัน ซึ่งเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายกับเครือข่าย อย่างไรก็ตาม การใช้งานเทคโนโลยีนี้จะไม่สามารถใช้งานเสียงพร้อม ไปกับการรับส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน เนื่องจากจุดเชื่อมต่อของสายโทรศัพท์ถูกใช้งานเต็มที่พร้อมกันนั่นเองSDSL (Single-Line Digital Subscriber Line) นี้จะคล้ายกับ VDSL แต่จะมีข้อแตกต่างกันที่สำคัญสองประการคือ - SDSL จำกัดระยะทางที่ไม่เกิน 10,000 ฟุต - SDSL ใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว เทคโนโลยี SDSL ยังคงอยู่ในขั้นตอนพัฒนา ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี (หรือมากกว่านี้) จึงจะสามารถนำมาเป็นมาตรฐานได้โดยแต่ละเทคโนโลยีมีคุณสมบัติแตกต่างกัน
Symmetric Digital Subscriber Line (SDSL)
มีกำเนิดมาจาก HDSL แต่ได้พัฒนาให้ใช้กับสายโทรศัพท์เพียงคู่เดียว โดยสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ในระดับ T1/E1 หรือ 1.544/2.048Mbps ทั้งด้านรับและส่ง ในทางทฤษฎี HDSLซึ่งแยกวงจรรับและส่งออกจากกันไปอยู่คนละคู่สายโทรศัพท์ จะสามารถทำงานได้ที่ความถี่ต่ำกว่า SDSL ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานที่ระยะทางไกลกว่าด้วย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ระยะทางที่ใช้งานได้ต่างกันไม่มาก การใช้สายโทรศัพท์เพียงคู่เดียวทำให้ SDSL สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของสายเคเบิลลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง




3. ความหมายของ HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line HDSL
         เป็นเทคโนโลยีระบบที่มีจำนวนบิตในอัตราสูง ซึ่งกระจายอัตราการรับส่งข้อมูลใน 2 ทิศทาง HDSL เป็นเทคโนโลยีรุ่นบุกเบิกของ DSL เพราะเคยใช้รับส่งข้อมูลแบบ T1 เหนือเกลียวคู่สัญญาณ โดยปราศจากอุปกรณ์เสริมอื่นใดที่ใช้สำหรับติดตั้งวงจร T1 เช่น นำแถบเชื่อมออก (the removal of bridged taps) และการติดตั้งรีพีทเตอร์ (the installation of repeaters) HDSL ใช้ 2 คู่สายเคเบิลไกลถึง 12000 ฟุต ขณะที่ HDSL-2 ใช้คู่สายเคเบิลเดียว และรองรับระยะไกลได้ถึง 18000 ฟุต HDSL ไม่สามารถใช้ร่วมกับสายโทรศัพท์ระบบอนาลอกได้HDSL ข้อดี : เร็ว และเป็นทางสำรองสำหรับระบบสายถาวร ข้อเสีย : ราคาแพง ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ผ่านสายทองแดงได้ HDSL (High Data Rate Digital Subscriber Line) เป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนา DSL ซึ่งหลักการนั้นก็ง่ายมากคือ แทนที่จะใช้สายทอง- แดงเพียงคู่เดียวอย่างใน ADSL ก็เพิ่มเป็นอย่างน้อย 2 คู่ หากระยะทางระหว่างผู้ให้บริการถึงผู้ใช้นั้นไกลกันมากก็อาจจะต้องใช้ถึง 3 คู่ ด้วยวิธีนี้ทำให้ HDSL สามารถส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 4 MBit/s ทั้งการดาวน์โหลดและอัพโหลดพร้อมๆ กัน ข้อดีที่เห็นได้ชัดของ HDSL คือผู้ให้บริการสามารถใช้เครือข่ายสายทองแดงที่มีอยู่แล้วต่อไปได้เลย แต่ข้อเสียของมันก็อยู่ที่ความยุ่งยากในการแก้ไขสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้น และนอกจากนั้นยังทำให้ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ผ่านสายทองแดงอย่างเคยได้ ซึ่งข้อหลังนี้เป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้ HDSL ไม่ได้รับความนิยมมากนัก VDSL ข้อดี : แบนด์วิดธ์สูงมากข้อเสีย : ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ให้บริการค่อนข้างสูง และในขณะนี้ยังอยู่แค่ในขั้นตอนการทดสอบเท่านั้น เมื่อครั้งที่องค์การไปรษณีย์ของเยอรมนีจะทำการวางเครือข่ายโทรศัพท์สื่อสารในรัฐใหม่หลังจากการรวมประเทศของเยอรมนีนั้น ได้มีการใช้สายใยแก้วแทนสายทองแดงธรรมดาในหลายๆ เมือง และในขณะนั้น ADSL ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักดีนัก ดังนั้นจึงน่าเสียดายที่เมืองหลายๆ เมืองยังคงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็มแบบ 56k ธรรมดาหรือผ่าน USDN ทั้งๆ ที่มีระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่ทันสมัยรองรับอยู่แล้ว แต่ด้วยโปรเจ็กต์ OPAL น่าจะทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ VDSL (Very High Data Rate DSL) ได้รับความนิยมขึ้นมา ด้วย สายใยแก้วนี้จะทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 52 MBit/s ในการดาวน์โหลด ซึ่งเร็วกว่า DSL 68 เท่า และเร็วกว่า ISDN ถึง 800 เท่าเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามกว่าที่จะไปถึงจุดนั้นได้ก็ยังคงมีอุปสรรคอีกมากโดยเฉพาะในส่วนของ การลงทุนของผู้ให้บริการเพราะในโปรเจ็กต์ OPAL นั้นต้องมีการวางสายใยแก้วจากผู้ให้บริ-การสองแบบด้วยกันคือ FTTC (Fibre to the Curb) ที่สายใยแก้วจะไปสิ้นสุดลงที่ทางเดินเท้า และ FTTB (Fibre to the Basement) ที่สายใยแก้วจะเข้าไปจนถึงห้องใต้ดินของบ้าน ส่วนระยะทางที่เหลือคือจากจุดแยกของสายก็จะใช้สายทองแดงในการส่งผ่านข้อมูลเช่นเดิม การรับส่งข้อมูลแบบผสมนี้ถือว่าเหมาะมาก เพราะระบบสายโทรศัพท์เดิมที่บ้านก็เป็นสายทองแดงอยู่แล้ว ระยะทางสูงสุดที่จะสามารถส่งผ่านข้อมูลทางสายทองแดงด้วยความเร็ว 52 MBit/s ได้โดยไม่มีสัญญาณรบกวนคือ 300 เมตร แต่การเปลี่ยนจากสายใยแก้วมาเป็นสายทอง-แดงนี้เองที่เป็นตัวทำให้ต้องลงทุนสูง เพราะนอกเหนือไปจากที่ต้องมีจุดแยกสายแล้ว ยังต้องมีโมเด็มเพิ่มขึ้นมาอีกตัวสำหรับแปลงสัญญาณของสายใยแก้วให้เหมาะสำหรับสายทองแดง และผู้ใช้ต้องมีโมเด็มอีกเครื่องที่คอมพิวเตอร์เช่นเดิม แบนด์วิดธ์ : ด้วยใยแก้วนำแสงทำให้การดาวน์โหลดมีความเร็วได้สูงถึง 52 MBit/s Wireless LAN ข้อดี : มี Web Access ตลอดเวลา เป็นเทคนิคที่สมบูรณ์แล้วและราคาถูก ข้อเสีย : มีเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ แต่ก็ยังไม่ทุกพื้นที่ โปรเจ็กต์อย่าง SydneyWireless (www.sydneywireless.com) หรือ SeattleWireless (www.seattlewireless.net) คงจะบ่งบอกถึงทิศ-ทางของลักษณะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี W-LAN-Access Points ตาม ที่สาธารณะต่างๆ เช่นในร้านอาหารหรือในที่ พักอาศัยจะสามารถสร้างเครือข่าย WAN (Wide Area Net-work) ขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ ซึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถที่จะเชื่อมต่อเข้าระบบเพื่อท่องไปในโลกอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา และสะพานที่จะใช้ไปสู่โลกอินเทอร์เน็ตนั้นอาจจะเป็น DSL, สายเคเบิลหรือระบบสายถาวรต่างๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้สะพานเหล่านี้อยู่ ใน Forum และ Chat ต่างๆ ได้มีการถกเถียง กันอย่างมากระหว่าง Wireless User ทั้งหลายถึงทางเลือกใหม่ๆ และตัว WAN นั้นควรจะเป็นอินเทอร์เน็ตเสียเองเนื่องจากมีข้อมูลต่างๆ อยู่ครบถ้วนแล้ว นั่นจะทำให้อินเทอร์เน็ตอย่างที่เรารู้จักกันอยู่ในทุกวันนี้ก็จะหมดความหมายลง ไป แต่ก็ยังมีปัญหาทางด้านเทคนิคบางประการ อยู่เช่นการ Roaming หรือการส่งต่อระหว่างสถานีสัญญาณต่างๆ เพราะผู้ให้บริการ W-LAN ทั้งหลายยังไม่ได้เตรียมตัวรับมือในด้านนี้ การเชื่อมต่ออาจจะถูกตัดขาดลง และจำเป็นจะต้องมีการ สร้างการเชื่อมต่อ่ใหม่ขึ้นมา ซึ่งทำให้ผู้ใช้จะได้รับ Internal IP ภายในระบบตัวใหม่ ส่วนในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ผู้ใช้อาจจะสูญเสียข้อมูลที่กำลังดาวน์โหลดไปหรืออาจจะต้องเริ่มการ Chat ใหม่ แต่ถึงจะมีอุปสรรคในเรื่องนี้ ก็ยังมีบริษัทอีกจำนวนมากที่เล็งเห็นความสำคัญของเทคนิค นี้ และกำลังทำการแก้ไขปัญหา Roaming นี้อยู่ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นการทดลองและต้องรอดูผลกันต่อไป
4. ความหมายของ VDSL (Very High Speed Digital Subscriber Line)
      VDSL ย่อมาจาก Very High Speed Digital Subscriber Line หรืออาจจะเรียกว่า Very High Bit Rate Digital Subscriber Line แต่ความหมายเดียวกัน เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูงที่สุดในกลุ่ม DSL คือ สามารถทำความเร็วได้มากถึงกว่า 50 เม็กกะบิตต่อวินาที ในทางทฤษฎีโดยพื้นที่ให้บริการห่างจากตู้ชุมสายไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร จึงจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุด หากระยะห่างออกไป ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะแปรผันลดลงตามระยะทางดังกล่าว
 เทคโนโลยี VDSL เป็นเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานสำหรับอาคารประเภท MxU ซึ่งอาคารประเภท MxU แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ          1.   MTU (Multi-Tenant Units) คือ อาคารที่ประกอบไปด้วยสำนักงานหรือองค์กรต่าง ๆ รวมกันอยู่อย่างหลากหลาย หรือเรียกง่าย ๆ คือ เป็นอาคารที่เปิดให้องค์กรต่าง ๆ เช่าพื้นที่ในการใช้เป็นสำนักงาน
          2.   MDU (Multi-Dwelling Units) เป็นประเภทอาคารบ้านพักที่ไม่ใช่สำนักงาน เช่น หอพัก คอนโดมิเนียม โรงแรม รีสอร์ทหรือบ้านพักตากอากาศ ก็จัดอยู่ในประเภท MDU เช่นกัน
จุดเด่นของ VDSL ที่เหนือเทคโนโลยีอื่น
          -
อัตราการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 15 Mbps
          -
รองรับระยะทางได้สูงสุดถึง 1.5 km
          -
สนับสนุน IEEE 802.1x (Authentication) ความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบ
          -
สนับสนุนการจัดเก็บเงิน และระบบ Property management system (PMS) สามารถออกบิลเรียกเก็บค่าใช้บริการ สนับสนุน IEEE 802.1p และ IEEE 802.1q ในการให้บริการ QQS (Quality of Service) เป็นการจัดการ ลำดับความสำคัญของงานและลำดับความสำคัญของผู้ใช้บริการ
          -
สนับสนุน IGMP snooping ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Entertainment on demand (EOD)
          -
สนับสนุน VLAN เพิ่มประสิทธิ์ภาพและความปลอดภัยของระบบ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น