วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
เทคโนโลยีการสื่อสารสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจเพื่อสร้างผลประโยชน์ และอำนวยความสะดวกได้มากมาย เช่น Videoconference, Voice Mail, Fax, GroupWare, Collaboration, EDI และ GPS เป็นต้น

1. Videoconference
         Videoconference เป็นการรวมเทคโนโลยี 2 อย่าง เข้าไว้ด้วยกัน นั่นคือ เทคโนโลยีวีดีโอและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งจุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยี Videoconference นั้นเพื่อสนับสนุนการประชุมทางไกลเป็นหลัก ดังนั้นผู้บริหารที่ติดภารกิจในต่างแดนไม่สามารถเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมตามสถานที่ที่กำหนดไว้ได้ ก็สามารถใช้เทคโนโลยี Videoconference ทำการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้บริหารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมายังห้องประชุมในเวลาที่นัดหมายได้ทันที โดยจะทำให้ผู้บริหารที่อยู่ในสถานที่ห่างไกลนั้นสามารถเข้าร่วมประชุมตามปกติได้ ในขณะที่ประชุมอยู่นั้นผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนยังสามารถเห็นข้อมูล ภาพ กราฟ หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท ได้พร้อมกันทุกคนนอกจากนี้การใช้Videoconference ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อไปประชุมในสถานที่ใกล้ ๆ ได้ และยังช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางด้วย
เทคโนโลยี Videoconference เป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้อุปกรณ์ต่อไปนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งการ์ดเสียง หรือ Sound on Board กล้องถ่ายวีดีโอขนาดเล็ก ไมโครโฟน ลำโพง (หรือหูฟัง หรือ Head-Set)และต้องมีโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการรับส่งข้อความ ภาพ และเสียง ตลอดจนไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ผู้ร่วมประชุมเห็นภาพและได้ยินเสียงของผู้ร่วมประชุมคนอื่น ๆ ได้นอกจากเทคโนโลยีที่กล่าวมาแล้วยังมีเทคโนโลยีอีกอย่างที่ทำหน้าที่ไม่ต่างกับ Videoconference นั่นคือWeb Conference ที่เป็นการประชุมผ่านเว็บไซต์ และ Video Telephone Call ที่สามารถสนทนาผ่านโทรศัพท์พร้อมทั้งเห็นภาพอีกฝ่ายหนึ่งได้พร้อมกัน ซึ่งทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้มักจะนิยมใช้ภายในที่พักอาศัยเป็นการส่วนตัว

2. Voice Mail
            Voice Mail เป็นเทคโนโลยีที่ทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ ซึ่งจะบันทึกเสียงของผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาไว้ในเครื่องบันทึกเทป แต่ Voice Mail มีลักษณะที่ต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ แทนที่จะบันทึกเสียงของผู้พูดไว้ด้วยสัญญาณอนาล็อกแบบเครื่องบันทึกเทปทั่วไป แต่ Voice Mail กลับบันทึกเก็บไว้ใน Voice Mailbox ของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสัญญาณดิจิตอล   โดยปกติแล้ว ระบบ Voice Mailจะมี Voice Mailbox ใช้เป็นกล่องเก็บบันทึกข้อความเสียงเพียงกล่องเดียวต่อ 1 ระบบ เท่านั้นไม่ว่าจะมีผู้ใช้กี่คนก็ตาม เช่น การนำ Voice Mail มาใช้ในบริษัทหรือในมหาวิทยาลัย ซึ่งพนักงานต่าง ๆ ในบริษัทหรือนักศึกษาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยต่างก็ใช้ Voice Mailbox ตัวเดียวกันนี้เก็บบันทึกเสียงไว้ เป็นต้นส่วนภายใน Voice Mailbox นี้สามารถแบ่งเป็นโฟลเดอร์ย่อย ๆ ให้ผู้ใช้แต่ละคนได้ทำให้สามารถเรียกข้อความขึ้นมาฟังตอบกลับหรือส่งต่อข้อความไปถึงผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้และหากต้องการส่งข้อความไปถึงผู้รับพร้อมกันหลายคนก็สามารถทำได้

3. Fax
              ข้อมูลที่สื่อสารผ่านเทคโนลยีแฟ็กซ์ (FAX) นี้อาจเป็นข้อความที่พิมพ์ขึ้นหรือเขียนขึ้นด้วยมือ และอาจจะมีรูปภาพด้วยก็ได้การรับและส่งผ่านข้อมูลดังกล่าวนี้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้เครื่องแฟ็กซ์ หรือจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งแฟ็กซ์/โมเด็มเป็นอุปกรณ์สื่อสารก็ได้แต่การใช้คอมพิวเตอร์นั้นจะช่วยประหยัดค่าจ่ายและมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้เครื่องแฟ็กซ์ธรรมดา กล่าวคือ ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ผู้ใช้สามารถดูข้อความหรือรูปภาพผ่านทางหน้าจอได้ทันทีไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร ซึ่งก็เท่ากับเป็นการประหยัดเวลาและกระดาษนั้นเอง นอกจากนี้ผู้ใช้ยังเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นไฟล์ได้ ซึ่งการเก็บข้อมูลเป็นไฟล์นี้จะทำให้ผู้ใช้ควบคุมและจัดการไฟล์ได้ง่ายกว่าการเก็บเป็นเอกสารและด้วยคุณประโยชน์เช่นนี้จึงทำให้บริษัทใหญ่ ๆ เช่น บริษัทประกันภัยที่ต้องการรับส่งข้อความต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในแต่ละวันหันมาใช้การรับส่งแฟ็กซ์ด้วยโมเด็มแทนการใช้เครื่องแฟ็กซ์ธรรมดา

4. Group Ware
          Group War e คือ โปรแกรมที่ช่วยสนับสนุนกลุ่มบุคคลที่ทำงานร่วมโครงการเดียวกันให้มีการแบ่งปันสารสนเทศผ่านทางเครือข่าย (LAN และ WAN) โดย GroupWare เป็นองค์ประกอบของแนวความคิดอิสระที่เรียกว่า “Workgroup Computing” ซึ่งประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ของเครือข่ายซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานทุกคนสามารถสื่อสารถึงกัน และร่วมกันจัดการโครงการต่าง ๆ ร่วมประชุมตามหมายกำหนดการตลอดจนร่วมกันตัดสินใจเป็นกลุ่มได้

5. Collaboration
             Collaboration เป็นความสามารถของซอฟต์แวร์แต่ละชนิดที่ทำให้ผู้ใช้งานทำงานร่วมกันได้โดยต่อเชื่อมถึงกันผ่าน Server เช่น โปรแกรม Microsoft Office XP ที่สามารถปฏิบัติงานหรือติดต่องานร่วมกับผู้อื่นได้และมีความสามารถในการควบคุมการประชุมแบบออนไลน์ (Online Meeting) เช่น สามารถแบ่งปันไฟล์เอกสารให้กับผู้อื่นได้เปิดอ่านพร้อมกันและถ้ามีใครซักคนเปลี่ยนแปลงข้อมูลไฟล์คนอื่น ๆ ที่กำลังเปิดไฟล์อยู่ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย เป็นต้น

6. EDI (Electronic Data Interchange)
              EDI คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยระบบ EDI จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 อย่าง คือ การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารที่เป็นกระดาษและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากลด้วยสององค์ประกอบนี้ให้ทุกธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ทั่วโลก
ข้อดี      Ä ลดงานซ้ำซ้อน และลดขั้นตอนการจัดการรับ - ส่งเอกสาร
  Ä เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่ยำ ในการรับ - ส่งเอกสาร
  Ä สามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
  Ä ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน
  Ä เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
  Ä เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า

7. GPS (Global Positioning System)
                ระบบ GPS ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของ GPS Receiver (อุปกรณ์รับสัญญาณ) ผ่านทางดาวเทียม ซึ่งมีลักษณะการทำงานโดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ
1. ดาวเทียมแต่ละดวงที่โคจรอยู่รอบโลกจะส่งสัญญาณมาที่ GPS Receiver ทุก ๆ 1,000 วินาที ซึ่งสัญญาณที่ส่งมานี้เป็นสัญญาณที่บอกให้ทราบว่า GPS Receiver กำลังอยู่ที่พิกัดใดในโลก
2. เมื่อ GPS Receiver ได้รับสัญญาณแล้วจะทำการวิเคราะห์สัญญาณที่ได้จากดาวเทียมแล้วแสดงออกมาให้ผู้ใช้ได้ทราบ ซึ่งรูปแบบการแสดงผลนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ นั่นคือ
            Ä แสดงผลที่ GPS Receiver ซึ่งจะมีจอภาพแสดงให้เห็นว่ากำลังอยู่ ณ ตำแหน่งใดในแผนที่โลก
            Ä รับสัญญาณจากดาวเทียมแล้วส่งสัญญาณไปวิเคราะห์และแสดงผลต่อยังสถานี ดังรูปที่ 4.42

<!--[if !vml]--> <!--[endif]-->
                            รูปที่ 4.42 ภาพแสดงวิธีการทำงานของระบบ GPS

              ปัจจุบันนี้ได้มีผู้นำระบบ GPS ไปประยุกต์ใช้มากมาย ตัวอย่างเช่น การป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สิน การนำร่องเรือเดินสมุทร การควบคุมการบินอัตโนมัติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้นำไปใช้ในโครงการวิจัยสัตว์ป่า โดยฝัง GPS Receiver ไว้ที่ในตัวสัตว์ (GPS Receiver จะถูกออกแบบและสร้างมาให้เล็กเป็นพิเศษ) เพื่อเฝ้าสะกดรอยตาม หรือหากนำไปฝังไว้ในตัวนักโทษก็จะทำให้การติดตามจับกุมนักโทษแหกคุกทำได้ง่ายขึ้น เหล่านี้คือตัวอย่างเพียงบางส่วนของประโยชน์ที่ได้รับจากระบบ GPS

จริยธรรมและความปลอดภัยในระบบคอมฯและสารสนเทศ

1.จงอธิบายเปรียบเทียบยกตัวอย่างของไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
ไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
           ไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจันเป็นโปรแกรมอันตรายที่สามารถทำความเสียหายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ทำให้อินเทอร์เน็ตช้าลง และใช้คอมพิวเตอร์ของคุณในการแพร่กระจายตัวเอง ไปยังเพื่อนฝูง ครอบครัว เพื่อนร่วมงานของคุณ จนถึงตลอดทั่วทั้งเว็บ สิ่งที่น่ายินดีก็คือด้วยการใช้วิธีป้องกันเพียงเล็กน้อย รวมทั้งสามัญสำนึกที่ดี โอกาสที่คุณจะตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามเหล่านี้ก็จะลดน้อยลง เปรียบได้กับการที่คุณล็อคประตู หน้าบ้านเพื่อป้องกันครอบครัวของคุณนั่นเอง โปรดอ่านเอกสารนี้ เพื่อศึกษาถึงคำอธิบาย วิธีตรวจสอบว่าคุณตกเป็นเหยื่อของภัยร้ายดังกล่าวหรือไม่ รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณมีความปลอดภัยมากขึ้น

ไวรัสคือ

ไวรัสคือรหัสคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่งที่ฝังตัวเองในโปรแกรมหรือไฟล์หนึ่ง เพื่อที่จะแพร่กระจายตัวเองจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ โดยทำความเสียหายแก่เครื่องในขณะที่มันแพร่กระจาย ไวรัสสามารถสร้างความเสียหายให้แก่ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และไฟล์ของคุณได้

ไวรัส (น.) รหัสที่เขียนขึ้นด้วยความตั้งใจให้สำเนาตัวเอง ไวรัสจะพยายามแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยการฝังตัวเองเข้ากับโปรแกรมที่เป็นโฮสต์ ไวรัสอาจสร้างความเสียหายให้แก่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือข้อมูลต่างๆ ได้ เปรียบเทียบกับ เวิร์ม

ความร้ายแรงของไวรัสคอมพิวเตอร์มีตั้งแต่ก่อให้เกิดความรำคาญจนถึงขั้นทำความเสียหายอย่างร้ายแรง ซึ่งคล้ายกับไวรัสของคนที่มีความร้ายแรงมาก เช่น ไวรัส Ebola ลงมาถึงรุนแรงน้อย เช่น ไวรัสโรคหวัด เป็นต้น ข่าวดีก็คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แท้จริงจะไม่สามารถแพร่กระจายได้ หากเราไม่ได้เคลื่อนย้ายไวรัสนั้นด้วยการกระทำต่างๆ เช่น การแบ่งปันไฟล์ หรือการส่งอีเมล เป็นต้น

เวิร์มคือ
เวิร์มมีลักษณะคล้ายไวรัส คือเป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อคัดลอกตัวเองจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยอัตโนมัติ จากการเข้าควบคุมคุณสมบัติบางอย่างของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่งถ่ายไฟล์หรือข้อมูล เมื่อเวิร์มเข้ามาอยู่ในระบบของคุณแล้ว จะสามารถแพร่กระจายด้วยตัวเองได้ สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดของเวิร์มก็คือ ความสามารถในการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วได้เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น เวิร์มสามารถส่งสำเนาของเวิร์มไปยังทุกคนที่มีรายชื่อในสมุดบันทึกอีเมลแอดเดรสของคุณ และคอมพิวเตอร์ของเจ้าของรายชื่อเหล่านั้นก็จะดำเนินการเช่นเดียวกัน เกิดเป็นผลกระทบแบบต่อเนื่องจากการส่งข้อความในเครือข่ายอย่างหนักจนทำให้การทำงานของเครือข่ายช้าลง รวมทั้งมีผลต่ออินเทอร์เน็ตด้วย เมื่อมีการปล่อยเวิร์มใหม่ๆ ออกมา เวิร์มเหล่านี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้เครือข่ายติดขัดและอาจทำให้คุณ (หรือคนอื่นๆ) ต้องรอนานเป็นสองเท่าในการชมเว็บเพจบนอินเทอร์เน็ต

เวิร์ม (น.) ลำดับชั้นย่อยของไวรัส โดยปกติ เวิร์มจะแพร่กระจายได้เองโดยไม่ต้องอาศัยการดำเนินการของผู้ใช้ และจะกระจายตัวมันเองได้อย่างสมบูรณ์ (หรืออาจมีการแก้ไข) ไปทั่วเครือข่าย เวิร์มจะใช้หน่วยความจำหรือ แบนด์วิดธ์ของเครือข่ายจนทำให้การตอบสนองของคอมพิวเตอร์หยุดลง เปรียบเทียบกับไวรัส
เนื่องจากเวิร์มไม่ต้องอาศัยโปรแกรมที่เป็น "โฮสต์" หรือไฟล์ในการเคลื่อนย้ายตัวเอง จึงสามารถฝังตัวเองในระบบของคุณ และทำให้ผู้อื่นสามารถเข้าควบคุมคอมพิวเตอร์ของคุณจากระยะไกลได้ ตัวอย่างเช่น เวิร์ม MyDoom ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับการออกแบบมาให้เปิด "ประตูหลัง" ของระบบที่ติดเวิร์มดังกล่าว และใช้ระบบนั้นโจมตีเว็บไซต์ต่างๆ

ม้าโทรจันคือ
เช่นเดียวกับม้าโทรจันในเทพนิยายที่ดูเหมือนส่งมาเป็นของขวัญ แต่กลับกลายเป็นสิ่งที่ใช้บรรจุทหารกรีกที่ส่งเข้ามาเพื่อเข้ายึดกรุงทรอยในเวลาต่อมา ม้าโทรจันในยุคปัจจุบันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ดูเหมือนเป็นซอฟต์แวร์ที่มีประโยชน์ แต่จริงๆ แล้วสามารถทำลายระบบการรักษาความปลอดภัย ของคุณและสร้างความเสียหายได้อย่างมากมาย ม้าโทรจันปัจจุบันแฝงกายมาในรูปของอีเมลที่มีเอกสารแนบซึ่งอ้างว่าเป็นโปรแกรมปรับปรุงด้านการรักษาความปลอดภัยของ Microsoft แต่กลับเป็นตัวทำลายซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและไฟร์วอลล์ม้าโทรจัน (น.) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ดูเหมือนเป็นซอฟต์แวร์ที่มีประโยชน์ แต่ในความเป็นจริง กลับสร้างความเสียหายม้าโทรจันจะแพร่กระจายได้เมื่อผู้ใช้ถูกหลอกให้เปิดโปรแกรมเนื่องจากคิดว่าโปรแกรมดังกล่าวมาจากแหล่งที่มาที่อ้างถึงจริงๆ เพื่อเป็นการป้องกันผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น Microsoft จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยผ่านทางอีเมล แต่จะไม่มีเอกสารแนบไปด้วย เรายังเผยแพร่การแจ้งเตือนเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทั้งหมดของเราในหน้า ข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ก่อนที่จะส่งไปให้ลูกค้าของเราทางอีเมลม้าโทรจันยังอาจแฝงมากับซอฟต์แวร์ประเภทที่ให้คุณดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย จึงไม่ควรดาวน์โหลดซอฟต์แวร์จากแหล่งที่มาซึ่งคุณไม่รู้จัก และให้ดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงและ Patch ของ Microsoft อยู่เสมอ จาก Microsoft Windows Update หรือ Microsoft Office Updat

เวิร์มและไวรัสอื่นๆ แพร่กระจายได้อย่างไร
ไวรัสเกือบทุกชนิดและเวิร์มจำนวนมากจะไม่สามารถแพร่กระจายได้ หากคุณไม่เปิดหรือรันโปรแกรมที่ติดเชื้อเหล่านั้นไวรัสที่อันตรายมากที่สุด ส่วนมากจะใช้วิธีแพร่กระจายผ่านทางเอกสารแนบของอีเมล ซึ่งเป็นไฟล์ที่ส่งแนบมากับข้อความอีเมล โดยปกติ คุณสามารถทราบว่าอีเมลที่คุณรับนั้นมีเอกสารแนบมาด้วยจากการที่มีไอคอนรูปคลิปหนีบกระดาษที่แสดงแทนเอกสารแนบพร้อมกับชื่อเอกสาร ประเภทไฟล์ที่คุณได้รับทางอีเมล์ในแต่ละวันอาจประกอบด้วยภาพถ่าย จดหมายที่เขียนจากโปรแกรม Microsoft Word และแม้กระทั่งกระดาษคำนวณ Excel ไวรัสจะเปิดขึ้นเมื่อคุณเปิดไฟล์แนบขึ้นมา (โดยทั่วไป ด้วยการดับเบิลคลิกที่ไอคอนของเอกสารแนบ)
เคล็ดลับ: ห้ามเปิดสิ่งใดๆ ที่แนบมากับอีเมลเว้นเสียแต่ว่าเป็นเอกสารแนบที่คุณรอรับอยู่และ คุณรู้เนื้อหาของไฟล์นั้นอย่างแท้จริงหากคุณได้รับอีเมล์พร้อมกับเอกสารแนบจากใครบางคนที่คุณไม่รู้จัก คุณควรลบอีเมลฉบับนั้นทิ้งทันที อย่างไรก็ตาม การเปิดเอกสารแนบจากผู้ที่คุณรู้จักเป็นเรื่องที่ไม่ปลอดภัยอีกแล้ว เนื่องจากไวรัสและเวิร์ม สามารถขโมยข้อมูลจากโปรแกรมอีเมลแล้วส่งตัวเองไปยังทุกคนที่มีรายชื่อในสมุดอีเมลแอดเดรสของคุณ ดังนั้น หากว่าคุณได้รับอีเมลจากบุคคลบางคนที่เป็นข้อความที่คุณอ่านไม่เข้าใจหรือเป็นไฟล์ที่ คุณไม่ได้รอรับอยู่ ให้ติดต่อบุคคลผู้นั้นและรับคำยืนยันเรื่องเนื้อหาของเอกสารแนบนั้นก่อนที่จะเปิดอ่าน ไวรัสตัวอื่นๆ สามารถแพร่กระจายผ่านทางโปรแกรมที่คุณดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตหรือจากแผ่นดิสก์ คอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสจากเพื่อนหรือแม้กระทั่งที่ซื้อจากร้านค้า แต่การติดไวรัสด้วยวิธีเหล่านี้มีเป็นส่วนน้อย ผู้คนส่วนใหญ่รับไวรัสเข้าสู่เครื่องของตนจากการเปิดและรันเอกสารแนบอีเมลที่ไม่รู้จักมากกว่า

เราจะทราบได้อย่างไรว่าคอมพิวเตอร์ติดเวิร์มหรือไวรัสอื่นๆ หรือไม่
เมื่อคุณเปิดและรันโปรแกรมที่ติดไวรัส คุณอาจไม่ทราบว่าเครื่องได้ติดไวรัสแล้ว คอมพิวเตอร์ของคุณอาจทำงานช้าลง ไม่ตอบสนอง หรือหยุดค้างและรีสตาร์ตใหม่ทุกๆ 2-3 นาที บางครั้งไวรัสนั้นอาจทำความเสียหายให้กับไฟล์ต่างๆ ที่คุณต้องใช้ในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หากเป็นเช่นนั้น คุณอาจพบกับความว่างเปล่าบนจอแสดงผลเมื่อคุณกดปุ่มเปิดเครื่อง อาการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการทั่วไปที่แสดงว่าเครื่องของคุณได้ติดไวรัสแล้ว แม้ว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากปัญหาของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการติดไวรัสก็ตาม คุณควรให้ความระมัดระวังกับข้อความที่เตือนว่าคุณได้ส่งอีเมลที่มีไวรัสออกไป ซึ่งอาจหมายความว่า ไวรัสนั้นได้ใช้อีเมลแอดเดรสของคุณในฐานะผู้ส่งอีเมลที่ติดไวรัส แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณได้ติดไวรัสจริง เนื่องจากว่าไวรัสบางตัวมีความสามารถในการปลอมชื่ออีเมลแอดเดรสด้วย คุณอาจได้ยินการเรียกวิธีนี้ว่า "การปลอมชื่อ" (spoofing) ก็ได้ วิธีการที่แน่นอนที่สุดที่จะทราบว่าคุณได้ติดไวรัสหรือไม่ก็คือ การติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสใหม่ล่าสุดในคอมพิวเตอร์ของคุณ หากคุณยังไม่มีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสใหม่ล่าสุด หรือต้องการติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสใหม่ล่าสุดยี่ห้ออื่นๆ โปรดเข้าไปอ่านคำแนะนำของเราในเรื่อง การลดความเสี่ยงของไวรัสขั้นตอนต่อไป: วิธีการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์
ไม่มีสิ่งใดที่รับประกันเรื่องความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ของคุณได้ 100 เปอร์ซนต์ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมากขึ้นได้โดยการ ปรับปรุงซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ และรักษาสถานะการเป็นสมาชิกของซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสปัจจุบันเอาไว้ โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ ป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณ
2.สปายแวร์คืออะไรและมีวิธีการติดตั้งในคอมฯอย่างไร

           สปายแวร์คือซอฟต์แวร์ที่สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวมันเอง หรือทำงานบนคอมพิวเตอร์ของคุณโดยไม่มีการแจ้งเตือน ความยินยอม หรือการควบคุมที่เหมาะสม สปายแวร์อาจไม่แสดงอาการหลังจากที่ทำอันตรายคอมพิวเตอร์ของคุณ แต่ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายหรือโปรแกรมที่ไม่เป็นที่ต้องการหลายชนิดสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ของคุณได้ ตัวอย่างเช่น สปายแวร์สามารถตรวจสอบลักษณะการทำงานออนไลน์ของคุณ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคุณ (ทั้งข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่สำคัญอื่นๆ) เปลี่ยนแปลงการตั้งค่าบนคอมพิวเตอร์ หรือเป็นสาเหตุให้คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง

วิธีติดตั้งในคอมฯ
คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือ การดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรมAd-aware ,Spycop

3.ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของ Spam Mail
Spam คือ e-mail ลักษณะหนึ่ง ที่ส่งถึงท่าน หรือคนทั่วโลก โดยผู้ส่งไม่จำเป็นต้องรู้จักท่านมาก่อน เพราะเขาใช้โปรแกรมหว่านแห ส่งไปทั่ว เท่าที่จะส่งไปได้ และมักเป็น e-mail ที่เราท่าน ไม่พึงประสงค์ เป้าหมายส่วนใหญ่ของ spam คือ เชิญชวนให้ท่านไปซื้อสินค้า หรือแนะนำเว็บทางการค้า ที่เจ้าของเว็บจ่ายเงินจ้างhackerเก่งๆให้สร้างspamให้กับเว็บของตนหรืออาจเกิดจากนักเจาะระบบสมัครเล่น ที่ชอบทดลองก็เป็นได้และปกติเราจะไม่สามารถควานหาตัวผู้สร้างspamได้โดยง่ายเพราะพวกเขามีวิธีพลางตัว ที่ซับซ้อนยิ่งนัก เช่น login จาก server หนึ่ง กระโดดไปอีก server หนึ่ง แล้วจึงจะเริ่มเจาะ server เป้าหมาย ที่สถาบันผมเจอมาแล้วว่า มีคนเข้า server ผมได้ แล้วใช้เป็นทางผ่านไปเจาะ ญี่ปุ่นบ้าง อเมริกาบ้าง อังกฤษ บ้าง พอเช็ค account ก็เป็นของนักศึกษาที่ไม่เคยใช้ internet มาก่อนเลยก็มี
Spam Mail (Junk Mail) ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในระดับองค์กรเพื่อติดต่อทางธุรกิจหรือการติดต่อสื่อสารส่วนตัวซึ่งอีเมล์แอดเดรสของเรา ก็เปรียบเสมือนการที่อยู่ทางไปรษณีย์นั่นเองแต่จะแตกต่างกันก็คืออีเมล์แอดเดรสจะถูกส่งไปกับอีเมล์ที่เรารับ ,ส่ง,ส่งต่อ(forward)ก็หมายถึงทุกครั้งที่เรารับ,ส่งหรือส่งต่ออีเมล์จะทำให้คนที่อยู่ในกลุ่มผู้รับหรือผู้ที่รับอีเมล์ต่อ จะรู้อีเมล์แอดเดรสของเราอย่างง่ายดายหมายถึงโอกาสที่กลุ่มผู้สร้างSPAMจะสามารถรู้อีเมล์แอดเดรสของเรา และส่ง SPAM อีเมล์มาให้เราได้อย่างไม่ยากเลย
Spam เกิดขึ้นได้อย่างไร ก็อย่างที่เรารู้กันว่าการส่งอีเมล์เป็นการสื่อสารที่เสียค่าใช่จ่ายน้อยและสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้จำนวนมาก พวกสร้างSPAMก็คือพวกที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดเพื่อจุดประสงค์ในการโฆษณาขายสินค้า, ประชาสัมพันธ์ทางธุรกิจของตนจึงใช้วิธีการให้ได้มาซึ่งอีเมล์แอดเดรสของกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจเป็นได้จากหลายกรณีเช่นการที่เราส่งต่ออีเมล์ต่างๆ,การใช้อีเมล์แอดเดรสในการสมัครสมาชิกของกลุ่มข่าว ( newsgroup) หรือ สมัครสมาชิกของ website ต่างๆ เป็นต้น
วิธีการป้องกัน
จะเห็นได้ว่า SPAM เกิดจากการที่พวกที่สร้าง SPAM รู้อีเมล์แอดเดรสของเรา ดังนั้นการป้องกันที่สาเหตุที่ดีที่สุดคือการที่ป้องกันไม่ให้คนอื่นที่ไม่จำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้อง ติดต่อรู้อีเมล์แอดเดรสของเรา แต่ถ้าเราไม่สามารถป้องกันได้ที่สาเหตุตั้งแต่แรก และเราได้เคยได้รับ SPAM อีเมล์แล้ว เราก็สามารถการป้องกันได้ที่ปลายเหตุ โดยใช้ความสามารถของอีเมล์ไคลเอ็นท์ เช่น Microsoft Outlook ในการกรอง SPAM อีเมล์ หรือ/และร่วมกับความสามารถของอีเมล์เซอร์เวอร์ เช่น Microsoft Exchange หรือ ซอร์ฟแวร์ anti-spam เพิ่มเติม ตามความเหมาะสม โดยทั่วไปการป้องกัน SPAM สามารถทำได้ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการตอบอีเมล์ SPAM เพราะการตอบอีเมล์ SPAM ทำให้พวกผู้สร้าง SPAM รู้ว่าคุณยังใช้อีเมล์แอดเดรสและเมล์บ๊อกซ์นี้อยู่ ทำให้พวกผู้สร้าง SPAM จะส่งอีเมล์ SPAM มาอีก ทางที่ดีที่สุดคือลบอีเมล์ SPAM ทิ้งเมื่อคุณได้รับมัน
2. ไม่ควรใช้อีเมล์แอดเดรสที่ใช้ในองค์กร ในการลงทะเบียนใดๆ บนอินเตอร์เนต ในบางครั้งคุณอาจต้องการลงทะเบียน mailing list, news group , การดาวน์โหลด freeware หรือ shareware, การสมัครสมาชิกใดๆบนอินเตอร์เนต หรือการซื่อของทางอินเตอร์เนต คุณไม่ควรจะใช้อีเมล์แอดเดรสที่ใช้ในองค์กรในการลงทะเบียนเหล่านี้ เพราะจะทำให้อีเมล์แอดเดรสของคุณหลุดรอดไปยังพวกสร้างอีเมล์ SPAM ได้ ข้อแนะนำคือ ให้สร้างอีเมล์แอดเดรสในฟรีเมล์เช่น hotmail ไว้อีกหนึ่งอีเมล์แอดเดรส เพื่อใช้ในการลงทะเบียนหรือซื้อของทางอินเตอร์เนตแทนการใช้อีเมล์แอดเดรสหลักที่ใช้ในองค์กร
3. หากต้องใช้อีเมล์แอดเดรสในการลงทะเบียน website ใดๆให้อ่าน privacy policy ให้ละเอียด สำหรับ website ที่ต้องการให้คุณใช้อีเมล์แอดเดรสในการลงทะเบียน มักมี privacy policy ให้คุณอ่านและเลือกตอบเช่นคุณต้องการเปิดเผยข้อมูลและอีเมล์แอดเดรสของคุณแก่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มผู้ใช้ของ websiteหรือไม่?,อีเมล์ของคุณต้องการให้เก็บเป็นความลับหรือไม่?เป็นต้นดังนั้นคุณจะต้องอ่านให้ละเอียด และเลือกตอบให้เหมาะสม
4. ไม่ควรส่งต่ออีเมล์ประเภท chain e-mail หรือ forward mail ซึ่งปัจจุบันมี chain e-mail หลายรูปแบบ เช่นการบริจาคเงิน , บริจาคเลือด , การได้รับรางวัล ต่างๆ หรือ forward e-mail เช่นรูปภาพ , ข้อความ , ข่าวเป็นต้นหากต้องการส่งต่ออีเมล์ประเภทนี้ก็ควรจะลบรายชื่อของผู้ที่ได้รับอีเมล์ก่อนหน้านี้ที่จะปรากฎอย ู่เมื่อคุณกดปุ่ม Forward ทั้งนี้เป็นช่วยการป้องกันผู้ที่อยู่ในรายชื่อของผู้ที่ได้รับอีเมล์ก่อนหน้านี้ แต่อย่าลืมว่าผู้ที่ได้รับอีเมล์ต่อจากคุณอาจจะส่งต่อไปให้เพือนๆของเขาซึ่งคุณก็มีโอกาสเสี่ยง ในการที่พวกสร้างอีเมล์ SPAM จะรู้อีเมล์แอดเดรสของคุณอยู่ดี


4.ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลง เป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่เพราะเหตุใดและการดาวน์โหลดเพลงจากอินเตอร์เน็ตเช่นเดียวกันมีความเห็นอย่างไร
         คือ การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือน



วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการของเว็บ

    Web 2.0 ให้ดีขึ้น เนื่องจากในยุค Web 2.0 นั้นผู้ใช้มีการสร้างเนื้อหาได้อย่างสะดวกและง่ายดายทำให้ มีจำนวนเนื้อหาจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น บล็อค,
รูปภาพไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อมาก็คือ ปัญหาในการค้นหาและเข้าถึงข้อมูล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาแนวคิดหรือวิธีการในการจัดการข้อมูล
ให้เป็นระบบ และมีการเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและเข้าถึง โดยแนวคิดดังกล่าวนั้นเป็นที่มาของการพัฒนาไปสู่ยุค Web 3.0 นั่นเอง
“Read – Write – Execute” เป็นการคาดการณ์ลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เวบไซต์และผู้เข้าชมเวบไซต์ในยุค
     Web 3.0 ซึ่งมีลักษณะเป็นการที่ผู้ใช้สามารถอ่าน เขียน และทำการจัดการเนื้อหาและปรับแต่งแก้ไขข้อมูลหรือระบบได้อย่างอิสระ  หรือในอีกลักษณะหนึ่ง
ของ Web 3.0 คือ “Read – Write – Relate” เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันมากขึ้นแทนที่จะเป็นเพียงข้อมูล ที่สามารถอ่าน
และเขียนได้เท่านั้น ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อมาคือเมื่อเราสามารถหาความสัมพันธ์และการเชื่อมโยง ข้อมูลต่างๆได้ ก็จะทำให้เราเข้าใจความหมายของเครือข่าย
การเชื่อมโยงต่างๆมากขึ้น รูปแบบหรือลักษณะโดยทั่วไปของเวบไซต์ในยุค Web 3.0 นั้นมีการกล่าวกันว่าเวบไซต์จะมีการพัฒนาให้กลายเป็น
Semantic Web ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายของข้อมูลขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการค้นหาและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วทำให้มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์
กับเแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการทำให้เวบไซต์มีลักษณะของ Artificial intelligence (AI) ซึ่งทำให้
เว็บไซต์สามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้อย่างชาญฉลาด คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น และสามารถแสดงข้อมูลเฉพาะส่วน
ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้ตัวอย่างลักษณะของเวบไซต์ในยุค Web 3.0 เช่น Search Engine Google ที่เมื่อเราทำการสะกดคำที่ต้องการ
ค้นหาผิด Google สามารถรู้ได้ว่าคำที่เราต้องการหาเป็นอะไร และทำการแสดงผลของคำที่เราน่าจะต้องการมาให้
       Web4.0 เป็นแนวคิดเบื้องต้น
Web 4.0 เป็นแนวคิดของ Web ที่พัฒนาต่อจาก Web 3.0 โดยหัวใจของมันก็คือเรื่องของAdaptable หรือความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับ
พฤติกรรมของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกและได้รับข้อมูลที่พวกเขาต้องการมากที่สุดโดยประยุกต์ใช้รูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นตัวค้นหา
อีกทั้งยังเป็นเว็บที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองว่าผู้บริโภคชอบไม่ชอบอะไรในเว็บ หากชอบฟังค์ชันการทำงานนั้นก็จะปรับตัวให้ดียิ่งขึ้นและสร้างความเกี่ยวพัน
กับการใช้งานของผู้บริโภคมากขึ้น แต่ถ้าหากไม่ชอบฟังค์ชันการทำงานนั้นๆจะค่อยหายไปจนไม่โผล่มากวนใจอีกเลย

บทสรุปของพัฒนาการของเวิลด์ ไวด์ เว็บ
ทิศทางและแนวโน้มของการพัฒนาเวบไซต์ในยุค 3.0 นั้นยังอยู่บนเส้นทางที่มีพัฒนาอีกยาวไกลและยังไม่มีจุดหมายที่แน่นอน มีการโต้เถียงในเรื่อง
ความเป็นไปได้และข้อดีข้อเสียอีกมากมาย แต่อย่างน้อยพัฒนาการใหม่ของ เวิร์ล ไวด์ เว็บ ก็เริ่มต้นอีกครั้งหนึ่งแล้ว
ตัวอย่าง VDO Web 1.0
ตัวอย่าง VDO Web 2.0
ตัวอย่าง VDO Web 3.0
ตัวอย่าง VDO Web 4.0

ความหมายของโปรโตคอล

        โปรโตคอล ( Protocol) หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดี ข้อเสีย และใช้ในโอกาสหรือสถานการณ์แตกต่างกันไป คล้ายๆ กับภาษามนุษย์ที่มีทั้งภาษาไทย จีน ฝรั่ง หรือภาษาใบ้ ภาษามือ หรือจะใช้วิธียักคิ้วหลิ่วตาเพื่อส่งสัญญาณก็จัดเป็นภาษาได้เหมือนกัน ซึ่งจะสื่อสารกันรู้เรื่องได้จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน ในบางกรณีถ้าคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสื่อสารกันคนละภาษากันและต้องการนำมาเชื่อมต่อกัน จะต้องมีตัวกลางในการแปลงโปรโตคอลกลับไปกลับมาซึ่งนิยมเรียกว่า Gateway ถ้าเทียบกับภาษามนุษย์ก็คือ ล่าม ซึ่งมีอยู่ทั้งที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์แยกต่างหากสำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ หรือาจะเป็นโปรแกรมหรือไดร์ฟเวอร์ที่สามารถติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ได้เลย
การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้นั้น จะต้องอาศัยกลไกหลายๆ อย่างร่วมกันทำงานต่างหน้าที่กัน และเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การเชื่อมต่อมีความแตกต่างระหว่างระบบและอุปกรณ์หรือเป็นผู้ผลิตคนละรายกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การสร้างเครือข่ายเป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากขาดมาตรฐานกลางที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ
จึงได้เกิดหน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากลขึ้นคือ International Standards Organization และทำการกำหนดโครงสร้างทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารข้อมูลและเป็นระบบเปิด เพื่อให้ผู้ผลิตต่างๆ สามารถแยกผลิตในส่วนที่ตัวเองถนัด แต่สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างทีแน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้นๆ ( layer) โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน แบบจำลองสำหรับอ้างอิงแบบ OSI (Open System Interconnection Reference Model) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่าOSI Reference Model ของ ISO เป็นแบบจำลองที่ถูกเสนอและพัฒนาโดยองค์กร International Standard Organization (ISO) โดยจะบรรยายถึงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายในอุดมคติ ซึ่งระบบเครือข่ายที่เป็นไปตามสถาปัตยกรรมนี้จะเป็นระบบเครือข่ายแบบเปิด และอุปกรณ์ทางเครือข่ายจะสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ขึ้นกับว่าเป็นอุปกรณ์ของผู้ขายรายใด

แบนด์วิดท์ (อังกฤษ: bandwidth)

           แบนด์วิดท์ (อังกฤษ: bandwidth) เป็นคำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps(bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps,Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbpsเป็นต้น
แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทความมารู้จักก่อนว่าอะไรคือ Bandwidth และ Latency ความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้วคราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency
ในการพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบบัสหลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทางในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไรรถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมากขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่รับ-ส่งบนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข single number (0 หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณข้อมูลของเลข single number อาจแปรผันได้ตามเวลา เราจึงพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak bandwidth Bus หรือ ความกว้างสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่งกันระหว่างซีพียูและแรมภายในหนึ่งคาบเวล
จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูจากรูปที่ 1 ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียู ที่สัญญาณนาฬิกา 100 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 100MHz = 800 MB/s                                                                                                                             
และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูที่ 133 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 133MHz = 1064 MB/s
ซึ่งตัวเลข Bandwidth ที่ได้นี้เป็นพียงตัวเลขทางทฤษฎีที่บอกถึงปริมาณของข้อมูลที่เข้าสู่ซีพียูในแต่ละวินาที ในความเป็นจริง Bandwidth ของระบบจริงอาจมีค่าน้อยกว่าที่คำนวณเพียงเล็กน้อย

Bandwidth ในทางปฏิบัติ
ระบบบัสที่ผ่านมาจะมีลักษณะการส่งผ่านข้อมูลแบบทางเดียว จึงทำให้ไม่สามารถรับและส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน จึงต้องผลัดกันส่งและรับข้อมูลทำให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลช้า เปรียบเทียบระบบบัสได้กับการสื่อสารผ่านทางวิทยุรับส่งโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพูดอีกฝ่ายจะต้องเป็นผู้รับฟัง เนื่องจากต้องผลัดกันรับส่งข้อมูลดังนั้นเมื่อซีพียูต้องการร้องข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก (RAM) ซีพียูจะต้องร้องขอผ่านทาง Bus Control จากนั้น Bus Control จะร้องขอข้อมูลมาที่หน่วยความจำหลัก (RAM) เมื่อค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการได้แล้ว หน่วยความจำหลักจะส่งต่อข้อมูลให้ Bus Control กลับไปให้ซีพียู โดยทั้งหมดนี้กระทำบนบัสเดียวกัน ถ้าพิจารณาเวลาที่สูญเสียไปจากการร้องขอข้อมูลจาก Bus Control และที่ต้องเสียเวลารอหน่วยความจำหลักค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการแล้วจึงส่งข้อมูลที่ต้องการกลับไปสู่ Bus Control และส่งกลับไปสู่ซีพียูได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็น Delay Time ที่มีผลต่อค่า Read Latency โดยที่ Read Latency หมายถึง เวลาที่ใช้ระหว่างการร้องขอข้อมูลจากซีพียูผ่านทาง Frontside Bus (FSB)

Domain Name

Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้ ชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมด เช่น ITTradefair.com และ ittradefair.com ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน ส่วนประกอบใหญ่ๆ สามส่วนคือ ชื่อเครื่อง. เช่น DomainAtCost.com ,ThaiCompany.net ฯลฯ ในปัจจุบันได้มีการจดชื่อโดเมนถึงกว่า 30 ล้านชื่อทั่วโลกและ ชื่อโดเมนก็มักจะถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายการค้าของ Website ต่างๆ ด้วยโดยชื่อโดเมนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ

 ส่วนของชื่อ ซึ่งอาจเป็นชื่อของบุคคล นิติบุคคล องค์กร เครื่องหมายการค้า หรืออื่นๆ ที่ต้องการจะสื่อให้เป็นตัวแทนของ Website นั้นๆ เช่น DomainAtCost, ThaiCompany ฯลฯ
 ลักษณะการประกอบการของ Website นั้นๆ เช่น .com, .net ฯลฯ (คล้ายๆ กับคำแสดงนิติฐานะของนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด กระทรวง สมาคม องค์การ ฯลฯ กรุณาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในข้อ 3)

เนื่องจากชื่อโดเมนจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการชี้ไปยัง Website ดังนั้นจึงไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้ (ThaiCompany.net และ ThaiCompany.com ถือว่าเป็นคนละชื่อกัน เนื่องจากจดอยู่ภายใต้ลักษณะการประกอบการที่ต่างกัน แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจประกอบการในลักษณะเดียวกัน เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ควบคุม)

Domain Name ทำงานอย่างไร
    ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะใช้กลุ่มตัวเลข 4 กลุ่มที่คั่นด้วยจุด (ตัวเลขในแต่ละกลุ่มจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255) เช่น 203.33.192.255 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ IP Address ในการระบุตำแหน่งของ Website ต่างๆ เพื่อให้รู้ว่าอยู่บนเครื่องใดและอยู่ในเครือข่ายใด แต่เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด
Domain Name ที่ลงท้ายด้วย .com และ .net หรือ .net และ .net.th แตกต่างกันอย่างไร
    ระบบของ Domain Name จะมีการจัดแบ่งออกเป็นหลาย Level โดยเริ่มตั้งแต่ Top Level ซึ่งประกอบด้วย
Generic Domain (gTLD) ซึ่งได้แก่ Domain Name ที่ลงท้ายด้วย .com (Commercial), .net (Networking), .org (Non-Commercial Organization), .edu (Education), .gov (Government), .int (International), .mil (Military)
.com จะใช้กับองค์กรที่แสวงหาผลกำไร.org จะใช้กับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร.net จะใช้กับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Internet

Country Code Domain (ccTLD) ซึ่งเป็น Domain Name ที่กันไว้สำหรับการใช้งานของประเทศต่างๆ ได้แก่ .th (ประเทศไทย), -.us (สหรัฐอเมริกา), .uk (อังกฤษ) และอื่นๆ
.co.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่แสวงหาผลกำไร
.or.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประทศไทยที่ไม่แสวงหาผลกำไร
.net.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Internet
.in.th จะใช้กับบุคคลหรือองค์กรใดๆก็ได้ในประเทศไทย

ดังนั้น .com และ .net จึงถือได้ว่าเป็น Domain Name ที่อยู่ในระดับเดียวกัน แต่จะต่างกันที่ลักษณะการประกอบการ กล่าวคือ .com เป็น Website ที่ประกอบการเชิงพาณิชย์ เช่น การขายสินค้าหรือให้บริการ ในขณะที่ .net จะเป็น Website ที่ให้บริการทางด้านอินเตอร์เน็ต เช่น การเชื่อมต่อหรือการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย ส่วน .net.th จะถือเป็น Domain Name ในระดับSecondary Level (SLD) ที่แยกมาจาก Top Level (TLD) หรือ .th อีกทีหนึ่ง ซึ่งจะหมายถึงWebsite ที่ให้บริการทางด้านอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย อนึ่ง การแบ่ง Level ของ Domain Name สามารถแบ่งย่อยลงมาได้เรื่อยๆ ตามหลักการของ DNS (Domain Name System) เช่นNgo.ThaiCompany.net ก็จะหมายถึงกลุ่ม NGO ที่จด Domain Name อยู่ภายใต้ThaiCompany.net เป็นต้น

แหล่งจดทะเบียน
    ท่านสามารถที่จะจด Domain Name กับผู้ให้บริการรับจดรายใดก็ได้ทั่วโลก ทั้งนี้การจะจดอย่างไรจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน เช่น หากต้องการให้ Website มีภาพลักษณ์ที่เป็นสากล ก็ควรจดในลักษณะ .com, .net หรือ .org แต่หากว่าต้องการสื่อว่าเป็น Website ที่ให้บริการในประเทศไทย ก็ควรจดเป็น .co.th, .net.th, .or.th หรืออื่นๆ ซึ่งกรณีนี้จะต้องทำการจดกับTHNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลการจด Domain Name เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้น นอกจากนี้โดเมนเนมของบางประเทศ เช่น
.at (Austria), .cc (Cocos Islands), .to (Tonga), .tv (Tuvalu) และอื่นๆ ก็เป็นที่นิยม เนื่องจากสามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะอย่างได้ แต่เนื่องจากเป็นของประเทศ ดังนั้นการจดก็จะต้องขึ้นกับเงื่อนไขที่กำหนดโดย Registry ของประเทศนั้นๆท่านสามารถจะจดโดเมนเองได้ที่http://www.we.co.th ในกรณีที่ต้องการจดโดเมนของอเมริกา หรือ http://www.thnic.net/ ในกรณีที่ต้องการจดโดเมนของไทย

ระยะเวลาในการเป็นเจ้าของ Domain Name
   เนื่องจาก Domain Name ถือเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ดังนั้นกรรมสิทธิ์ หรือความเป็นเจ้าของจะคงอยู่ตราบเท่าระยะเวลาของสัญญาที่ทำไว้กับผู้ให้บริการรับจดแต่ละราย โดยสามารถทำการต่ออายุสัญญาเป็นงวดๆ ไป (สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ Domain Name จะเป็นของท่าน โดยข้อมูลทั้งหมดที่ลงทะเบียนไว้จะถูกเก็บอยู่ในระบบฐานข้อมูลของ NSI ซึ่งเป็นผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลหลักในปัจจุบัน

ข้อดีของการจดทะเบียนหลายปี
ในการจดชื่อโดเมน ระยะเวลาของสัญญาจะขึ้นกับดุลยพินิจและความพร้อมของท่าน สำหรับการจดแบบหลายปี (ท่านสามารถเลือกจดได้ตั้งแต่ 1-10 ปี) เป็นการรองรับความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาค่าบริการและอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินในอนาคต เนื่องจากค่าบริการของท่านจะถูกจ่ายครั้งเดียวในตอนเริ่มต้นด้วยอัตราค่าบริการในขณะนั้น ดังนั้นจึงเหมือนกับว่าในปีต่อๆ ไปท่านก็ยังคงสามารถจ่ายค่าบริการด้วยอัตราเดิมแม้ว่าค่าบริการจะปรับตัวสูงขึ้น (เรายังคงคาดหมายว่าแนวโน้มราคาค่าบริการของตลาดโดยรวมในอนาคตจะปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดีเนื่องจากในอนาคตการออกกฎหมายมาควบคุมการจดทะเบียนชื่อโดเมนคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ชื่อโดเมนก็ยังถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด) ดังนั้นการจดชื่อโดเมนแบบหลายปีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่น่าจะมองข้าม เพราะนอกจากจะช่วยท่านประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังช่วยให้ท่านไม่ต้องเสียเวลาในการต่ออายุสัญญาทุกๆ ปีอีกด้วย (หากท่านจดชื่อโดเมนกับเราไม่ว่าจะกี่ปีก็ตาม อายุสัญญาของชื่อโดเมนของท่านก็จะเป็นไปตามนั้น จะไม่มีการนำเงินมาหมุนใช้ก่อนแล้วนำไปจดใหม่เป็นรายปีในภายหลัง

การเตรียมการเพื่อจดชื่อโดเมน
    ชื่อโดเมนที่ต้องการจดทะเบียน เลือกไว้สัก 3 - 4 ชื่อ ป้องกันชื่อไปซ้ำกับชื่อที่ถูกจดไว้แล้ว
ผู้ให้บริการจดโดเมน ที่ต้องการไปจะจดกี่ปี ค่าบริการเท่าไร
เจ้าของชื่อโดเมน (Registrant) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ถ้าหากเป็นองค์กร ให้ใส่ชื่อองค์กรผู้ดูแลชื่อโดเมน (Administrative contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ผู้ติดต่อทางเทคนิคโดเมน (Technical contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจดโดเมน (Billing contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์

การจดชื่อโดเมนไม่ใช่เรื่องยาก หลังจากเลือกได้แล้วว่า จะจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนรายไหน ก็เปิดเว็บไซต์ไปจดได้เลย อย่างไรก็ตาม อยากแนะนำให้ใช้วิธีการเตรียมการหลายๆอย่างไว้ก่อน เพื่อให้การจดทะเบียนทำได้รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ พร้อมทั้งสอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น