วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

องค์ประกอบเทคโนโลยีสารสนเทค

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง : อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่งได้และ ให้ผลลัพธ์ตามต้องการ ประกอบด้วย
อุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า (input devices)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing unit)
อุปกรณ์แสดงผล (output devices)
อุปกรณ์ความจำสำรอง (Secondary Storage devices)

1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)  ทำหน้าที่รับข้อมูลโปรแกรม ต่างๆ ที่ส่งผ่านอุปกรณ์เข้ามาเก็บ ไว้ในหน่วยความจำ ได้แก่ แป้นพิมพ์, เมาส์, Joystick ฯลฯ
1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ CPU ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ
1.2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit)
1.2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit)
1.2.3 หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่จำหรือเก็บคำสั่งและข้อมูลต่างๆ รวมทั้งผลลัพธ์ที่ส่ง มาจากหน่วยคำนวณ หน่วยความจำอาจมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หน่วยเก็บ ข้อมูล
1.3 หน่วยแสดงผลเป็นหน่วยที่แสดงผลออกมาทางสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ จอภาพ, เครื่องพิมพ์, เครื่องเจาะบัตร เป็นต้น
                ซอฟท์แวร์ หมายถึง : ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ ให้เครื่องทำงานได้ตามต้องการในแต่ละงาน แบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้
1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้อุปกรณ์อื่นๆ สามารถทำงานประสานกันได้ และควบคุมโปรแกรมภายนอกอื่นๆ ให้สามารถใช้งานได้ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ได้แก่ MS-Dos , Linux, UNIX, Windows ฯลฯ
2. โปรแกรมแปลภาษา (Compiler Languages) เป็นโปรแกรมที่แปลภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็น ภาษาเครื่อง
3. โปรแกรมประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้ เครื่องทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของ ผู้ใช้
4. โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อประมวลผลของงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ได้แก่
4.1 โปรแกรมประมวลคำ (word Processing)
4.2 โปรแกรมจัดระบบฐานข้อมูล (data Base Management)
4.3 โปรแกรมทำการคำนวณ (calcutation Program)
4.4 โปรแกรมสำหรับงานธุรกิจ (Business Program)

 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน จากความหมายจะเห็นว่า คอมพิวเตอร์มี ขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ
1. รับโปรแกรมและข้อมูล
2. ประมวลผล
3. แสดงผลลัพธ์ 

ข้อมูล (Data)  คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ใดๆ ที่สนใจศึกษาข้อมูล แบ่งออกได้ดังนี้
1. รหัส (code) คือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนข้อมูล โดยปกติใช้ตัวเลขฐานสอง เช่น 0 ถึง 9 หรือ A ถึง Z
2. บิท (Bit) ย่อมาจาก Binary digit คือหลักในเลขฐานสอง ที่มี 6 บิท หรือ 8 บิท ซึ่งอาจใช้เป็นรหัสแทนตัวอักษรได้ เช่น 00010010 แทน A
3. ไบท์ (Bye) คือกลุ่มของเลขฐาน อาจจะเป็น 6 บิท 8 บิท ก็ได้ นำมาเป็นรหัสแทนสัญลักษณ์ตัวใด ตัวหนึ่ง เช่น 00000000 (8 บิท) เท่ากับ 1 ไบท์
4. ตัวอักขระ (Character) คือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนภาษามนุษย์
5. คำ (Word)
6. เขต (Field)
7. ระเบียน (Record)
8. ไฟล์ (File) หรือแฟ้มข้อมูล

บุคลากร เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามระบบได้ แบ่งออกได้ดังนี้
1. นักวิเคราะห์ระบบ (System analysts)
2. นักเขียนโปรแกรม (Programmers)
3. พนักงานควบคุมคอมพิวเตอร์ (Computer Operaters)
4. ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Users Computer)

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
           Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
           
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
           
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
        สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 
ประการที่สาม    เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ